ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของเด็กหญิงนัสรินทร์ หมานสะยะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงของประเทศในอาเซียน

                       เมืองหลวงของแต่ละประเทศในอาเซียน


   
                                                    

          อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ได้แก่ ประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์  ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ก็จะมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่  ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ    จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน 

                         จุดประสงค์หลักของอาเซียน
             1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
              2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
              3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
              4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
              5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
              7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ







เมืองหลวงของประเทศไทย

 

                            เมืองหลวงในประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร)

                     

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่งการเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตรมีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่าห้าล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (primate city) จัด และศูนย์ชุมชนอื่นของประเทศไทยด้อยความสำคัญลง มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น "เอกนครที่สุดในโลก" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองถึงสี่สิบเท่า[4]

มหาวิทยาลัยลัฟเบอระ (Loughborough University) จัดกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครโลกระดับแอลฟาลบ[5] กรุงเทพมหานครยังเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก[6] มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆ และวัดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแหล่งชอปปิ้งและค้าขายที่สำคัญมากมาย ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมาย โดยในปี พ.ศ. 2555 องค์กรการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้จัดอันดับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีคนเดินทางเข้า เป็นอันดับที่ 10 ของโลก และเป็นอันดับที่ 2 ของเอเซีย โดยมีคนเดินทางมากกว่า 26.5 ล้านคน[7] นอกจากนี้จากการจัดอันดับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ด ประจำปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานคร มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของนักท่องเที่ยวถึง 16.42 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่สองของโลก รองแต่เพียงกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[8]

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า กรุงเทพมหานคร นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง


ในสมัยอาณาจักรอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา มีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงสองแห่ง คือ กรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัย และเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศ และกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชันและการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรแออัดเรื้อรัง



                                   





เมืองหลวงของประเทศสิงคโปร

                                                  เมืองหลวงของประเทศสิงคโปร์

                            เมืองหลวงอาเซียน

            ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลังรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน
        หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์       สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย
ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับสี่และเป็นหนึ่งในห้าท่าที่วุ่นวายที่สุด เศรษฐกิจซึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์และมีความหลากหลายอาศัยการค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556 ในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ประเทศสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกแต่มีความเหลื่มล้ำของรายได้รุนแรงที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับสูงในแง่การศึกษา สาธารณสุขและความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เกือบ 5.5 ล้านคน ซึ่งกว่า 2 ล้านคนมีสัญชาติต่างชาติ แมม้สิงคโปร์จะมีความหลากหลาย แต่เชื้อชาติเอเชียมีมากที่สุด 75% ของประชากรเป็นชาวจีน โดยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวมาเลย์ ชาวอินเดียและชาวยูเรเซีย มีภาษาราชการสี่ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนกลางและภาษาทมิฬ และประเทศสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมผ่านนโยบายทางการต่าง ๆ


                                   ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์


                            เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ (กรุงมะนิลา)


                เมืองหลวงอาเซียน


 กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1574 (พ.ศ. 2117) มีเนื้อที่ประมาณ 38.55 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเล็กมาก มีประชากรประมาณ 1.6 ล้านคน
          สำหรับสัญลักษณ์ของกรุงมะนิลา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ไรซอล ที่สวนสาธารณะลูเนต้า ซึ่งอนุเสาวรีย์ดังกล่าว เป็นอนุเสาวรีย์ของโฆเซ่ ไรซอล บุคคลสำคัญที่ปลุกระดมให้ชาวฟิลิปปินส์สู้เพื่อปลดแอกจากสเปนได้ อย่างไรก็ตาม ไรซอลกลับถูกนำไปประหารเสียก่อน ก่อนที่จะเห็นความสำเร็จตัวเองในภายหลัง
ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะต่างๆ กว่า 7,000 เกาะ มี กรุงมะนิลา” เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่บนเกาะลูซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ เนื่องจากฟิลิปปินส์เป็นประเทศอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลานาน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ในเมืองมีโบสถ์คริสต์เก่าแก่งดงามหลายแห่ง



                           ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

เมืองหลวงของประเทศพม่า


                           มืองหลวงในประเทศพม่า (เนปีดอ)


                         
     เนปยีดอ (อังกฤษ: Naypyidaw หรือบางครั้งสะกดเป็น Nay Pyi Taw; พม่า: มีความหมายว่า "มหาราชธานี"[6][7] หรือ "ที่อยู่ของกษัตริย์"[8][9] เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารของประเทศพม่า ห่างจากย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าราว 320 กิโลเมตร[10] ปัจจุบันเนปยีดอเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สามของประเทศรองจากย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ และเป็นหนึ่งในสิบของเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[11]
เนปยีดอตั้งอยู่ในหมู่บ้านจะปยี (Kyetpyay) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองปยินมะนา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ เชื่อกันว่าเหตุผลการย้ายเมืองหลวงเป็นไปตามคำทำนายของโหรของนายพลตาน ฉ่วย รวมถึงเชื่อว่าอาจจะเป็นการฟื้นฟูธรรมเนียมประเพณีเก่าของพม่าในยุคที่ยังมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ[12] สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร มีเพียงถนนสี่ถึงแปดเลนที่กำลังก่อสร้าง อาคารได้มีการก่อสร้างขึ้น แต่ยังไม่มีผู้คนอาศัยเท่าที่ควร[13] ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อะพาร์ตเมนต์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน ในปัจจุบันแม้เมืองหลวงแห่งนี้จะมีโรงเรียน โรงพยาบาลเนปยีดอ[14] แต่ก็ยังเปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
ปัจจุบันกรุงเนปยีดอได้มีการพัฒนาถนนทางหลวงหมายเลข 8 เพื่อเชื่อมต่อกับเมืองย่างกุ้ง มีโครงการสร้างสถานีรถไฟขึ้นอีก 1 แห่งในเนปยีดอ ถัดจากสถานีในปยินมะนาที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2549 มีการสร้างมหาเจดีย์อุปปาตสันติ (Uppatasanti) ซึ่งจำลองแบบไปจากมหาเจดีย์ชเวดากองในย่างกุ้ง[15] และทางการยังมีแผนการสร้างสวนสาธารณะ น้ำพุ สวนสัตว์ สวนบริเวณใจกลางเมือง และศูนย์การค้าแห่งใหม่อีก 42 แห่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเมืองหลวงแห่งใหม่ นอกจากนี้ยังมีแผนการก่อสร้างอาคารทันสมัยต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานรัฐ ส่วนที่พักอาศัย โรงพยาบาลเอกชน ธนาคาร อาคารสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพพม่า (UMFCCI) และโครงการศูนย์การค้าระดับนานาชาติ โดยเป็นโครงการที่จะดำเนินไปตลอดทศวรรษข้างหน้า เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยของเมืองหลวงแห่งใหม่ในอนาคต


                                      

เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย


                               เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย (กัวลาลัมเปอร์)


เมืองหลวงอาเซียน

   กัวลาลัมเปอร์ (ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia) ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปุตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์

ซึ่งกัลลาลัมเปอร์นี้ มีสถานที่สำคัญ คือ ตึกแฝด เพราะตึกแฝดเป็นตึกที่มีแห่งเดียวในโลก และมีความสวยงามมาก ตึกแฝดจึงเป็นสัญลักษณ์ของมาเลเซียไปแล้ว


ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

เมืองหลวงของประเทศลาว

                                 

                                    เมืองหลวงประเทศลาว  (กรุงเวียงจันทร์)


เมืองหลวงอาเซียน

          กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย มีเนื้อที่ 3,920 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7 แสนคน นับว่ามากที่สุดในประเทศ
          เดิม พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างเมื่อ     พ.ศ. 2103 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2321 เจ้าพระยาจักรีของไทย (ในสมัยกรุงธนบุรี) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด อาณาจักรเวียงจันทน์ตกเป็นประเทศราชของไทยนับตั้งแต่นั้นมา
           พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากไทย รัฐบาลไทยจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่กรุงเทพ ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอารามสำคัญไม่กี่แห่ง เช่น หอพระแก้ว วัดสีสะเกด เท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
           พ.ศ. 2436 ดินแดนลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เวียงจันทน์ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครองของลาวในอาณัติของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อประเทศลาวประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ก็ได้กำหนดให้กรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
 ประเทศลาว ถือเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทยมากที่สุด ภาษาลาวมีความใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก สามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ ประเทศลาวมีพรมแดนติดต่อกับไทยทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำโขงกั้นเขตแดน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีทางออกสู่ทะเล มีนครหลวงเป็นเมืองหลวงอยู่ทางตอนกลางของประเทศ จากเมืองไทยจะไปเวียงจันทน์สามารถข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ผ่านทางจังหวัดหนองคายไปได้ เมืองเวียงจันทร์มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง เช่น ประตูชัย พระธาตุหลวง หอพระแก้ว เป็นต้น และเมืองหลวงเวียงจันทร์เป็นเมืองที่แปลกเพราะว่าเป็นเมืองหลวงที่อยู่ใกล้ชายแดนไทยมาก (ปกติเมืองหลวงจะไม่อยู่ใกล้กับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน)

สถานที่สำคัญ

  • ประตูชัย สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของปวงชนลาว พ้นจากการเป็นเมืองขึ้น โดยเลียนแบบ ประตูชัย ปารีส แต่ใช้ศิลปะลาว
  • หอพระแก้ว เดิมเป็นวัด เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ปัจจุบัน (แม้ไม่มีพระแก้วมรกตแล้ว) เป็นพิพิธภัณฑ์และมีร้านขายของที่ระลึก
  • พระธาตุหลวง พระธาตุ (สถูป) ขนาดใหญ่สีทองอร่าม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นเครื่องหมายในดวงตราสำคัญของประเทศ
  • วัดสีสะเกด อีกวัดหนึ่งที่ไม่ได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม มีพระพุทธรูปใหญ่ และเล็กเรียงรายอยู่มากที่สุด
  •       
                  ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

เมืองหลวงประเทศกัมพูชา

                     

                     เมืองหลวงประเทศกัมพูชา (กรุงพนมเปญ )         

             เมืองหลวงอาเซียน



       กรุงพนมเปญ 'เมืองหลวงแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ครั้งหนึ่งพนมเปญเคยได้ชื่อว่า ' ไข่มุก แห่งเอเชีย' เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การค้าและการเมือง เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ผสมผสานเสน่ห์แบบดั้งเดิมและคึกคัก ปัจจุบันพนมเปญเป็นเมืองที่มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีโรงแรมหรูหราเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ร้านอาหารก็ได้รับการพัฒนาขึ้นจนได้มาตรฐาน มีสถานที่บันเทิงยามค่ำคืน ห้างสรรพสินค้า อุทยานสาธารณะที่ผู้คนนิยมไปเดินเล่นและออกกำลังกายยามเช้าและเย็น เมืองหลวงที่เปี่ยมล้นด้วยเสน่ห์แห่งนี้มีคุณสมบัติที่หลากหลาย มีสถานที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมท้องถิ่นของกัมพูชา ณ ปัจจุบันพนมเปญกำลังพัฒนาและมีแนวโน้มที่สามารถแข่งขันกับเมืองอื่นๆ ในภูมิภาค โรงแรมและที่พักหรูหราเกิดขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบัน ณ กรุงพนมเปญ โดยมีหลายระดับร่วมทั้ง เกสต์เฮ้าส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อรอรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาติ และชาวต่างชาติที่มาเที่ยวกรุงพนมเปญรวมทั้งโรงแรมสไตล์โคโลเนียลระดับห้าดาว

     พนมเปญ เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีพื้นที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 2,250,000 ล้านคน นับว่ามากที่สุดในกัมพูชา และเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศอีกด้วย


                            ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

เมืองหลวงของประเทศบรูไน

                              เมืองหลวงประเทศบรูไน  ( บันดาร์ เสรี เบกาวัน)


                      


    บันดาร์ เสรี เบกาวัน เมืองหลวงของประเทศบรูไน ก่อตั้งเมื่อคริส์ตศตวรรษที่ 8 (พุทธศตวรรษที่ 13) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำบรูไน มีพื้นที่ 1,395 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.4 แสนคน โดยมีชาวบรูไนกับมาเลย์เป็นประชากรหลัก และมีชาวจีนอาศัยเป็นชนกลุ่มน้อยบันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนอยู่ในเขตการปกครองบรูไน-เมารา เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เสรีเบกาวันปัจจุบันกรุงบันดาเสรีเบกาวันเป็นศูนย์กลางการเงินธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติด้วย

    เมืองหลวงของบรูไน เป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไน สุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน และ กัมปงเอเยอร์ หมู่บ้านดั้งเดิมของชาวบรูไนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบรูไน กรุงบันดาร์เสรีเบกาวันเป็นเมืองเดียวของบรูไน ที่เรียกว่าเมืองได้เต็มปาก บันดาร์เสรีเบกาวันเป็นเมืองสวยสะอาด ถนนในเมืองกว้างขวางและมีตึกรามบ้านเรือนทันสมัย มีสุเหร่าขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง คือมัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินในบริเวณสุเหร่ามีสระขุดขนาดใหญ่ประดับสถานที่ให้ดูเด่นสง่างาม ภายในสุเหร่าปูพื้นด้วยหินอ่อนจากอิตาลี และปูพรมสั่งทอพิเศษผืนใหญ่มหึมา นับว่าเป็นศูนย์รวมชาวมุสลิมในบรูไนและเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลามในบรูไน

นอกจากมัสยิดโอมาร์ อาลี ไชฟัดดินแล้ว กรุงบันดาร์เสรีเบกาวันยังเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายแห่งของบรูไน อาทิ พิพิธภัณฑ์บรูไน กับพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีมาเลย์ซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมการก่อสร้างบ้านในแม่น้ำอย่างที่กัมปงเอเยอร์ นอกจากนี้ยังมีพระราชวังหลวงที่ใหญ่โตโอ่อ่าและสวยงามมากคือ พระราชวังหลวง อิสตานา นูรัล อีมาน ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมหลังจากเดือนรอมฎอน หรือหลังพิธีถือศีลอด ส่วนแรกของชื่อ Bandar มาจากภาษาเปอร์เซีย بندر แปลว่า "ท่าเรือ" หรือ"ที่หลบภัย" ส่วนที่สองของชื่อคือ Seri Begawan มาจากคำว่า "ศรีภควัน" (Sri Bhagwan) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์


                            

เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย

                                 เมืองหลวงประเทศอินโดนีเซีย  (กรุงจาการ์ตา)


                   


        จาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในอาเซียน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะชวา ติดทะเลชวา มีเนื้อที่ 740 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของสำนักงานอาเซียนด้วย

          สำหรับกรุงจาการ์ตา การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในพื้นที่ของจาการ์ตาในปัจจุบัน เท่าที่ปรากฏ คือท่าเรือเกลาปา (Kelapa)ซึ่งเอกสารไทยโบราณเรียกว่า กะหลาป๋า ใกล้ปากแม่น้ำจีลีวุง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากถิ่นที่ตั้งของฮินดูตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 กะหลาป๋าเป็นท่าเรือใหญ่สำหรับราชอาณาจักรฮินดู ชื่อว่าซุนดา มีการบันทึกว่าชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ไปถึงกะหลาป๋า กษัตริย์ฮินดูทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวโปรตุเกสสร้างป้อมที่กะหลาป๋าในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตอนต้น ท่าเรือของจาการ์ตาในปัจจุบันยังคงมีชื่อว่า Sunda Kelapa ตามชื่อถิ่นฐานยุคแรก
ในพ.ศ. 2070 เมืองถูกยึดครองโดยฟาตาฮิลลอฮฺหรือฟาเลเตฮาน (Fatahillah or Faletehan) ผู้นำอายุน้อยจากอาณาจักรใกล้เคียงจากทางเหนือ ฟาตาฮิลลอฮฺได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเกลาปาเป็น จายาการ์ตา (Jayakarta แปลว่า "มีชัยและเจริญรุ่งเรือง" ในภาษาชวา) หรือตรงกับ "ชยะ -กฤต" ใน ภาษาสันสกฤต แปลว่า "ชัยชนะอันเกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว" เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2070 ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันก่อตั้งกรุงจาการ์ตา ชื่อนี้เองที่ต่อมาได้กลายมาเป็นชื่อ จาการ์ตา ในปัจจุบัน
ชาวดัตช์เข้ามาถึงจายาการ์ตาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในพ.ศ. 2162 กองกำลังของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย (Dutch East India Company) นำโดยยัน ปีเตอร์โซน กุน (Jan Pieterszoon Coen) ยึดครองเมืองและเปลี่ยนชื่อจายาการ์ตาเป็นบาตาเวีย (Batavia) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของชนเผ่าที่อาศัยในเนเธอร์แลนด์ในสมัยโรมัน บาตาเวียเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมดัตช์อีสต์อินดีส์ (Dutch East Indies) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการขยายเมืองเมื่อชาวดัตช์เริ่มย้ายไปทางใต้ ไปที่พื้นที่สูงที่คาดว่ามีความอุดมสมบูรณ์กว่า ชาวอังกฤษยึดครองชวาใน พ.ศ. 2354 และครองอยู่ 5 ปีระหว่างที่เนเธอร์แลนด์ทำสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) ในยุโรป ก่อนคืนให้ดัตช์
หลังจากที่การปกครองโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ขยายไปทั่วทั้งหมู่เกาะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ตอนต้น ความสำคัญของบาตาเวียได้เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ของดัตช์ที่จะยังคงอำนาจและรายได้ภาษี ทำให้การส่งออกจากพื้นที่ใด ๆ ในภูมิภาคแทบทั้งหมดจะต้องผ่านบาตาเวีย ทำให้เมืองมีความสำคัญทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจตราบจนถึงปัจจุบัน
              ประเทศญี่ปุ่นยึดครองบาตาเวียในพ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเมืองโดยกลับมาใช้ชื่อ จาการ์ตา เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากคนในท้องถิ่น หลังจากที่ญี่ป่นพ่ายแพ้สงครามใน พ.ศ. 2488 กองกำลังชาวดัตช์กลับเข้ายึดครองเมืองอีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ชาวอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชไปก่อนแล้วในช่วงปลายสงคราม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จาการ์ตาเป็นศูนย์กลางของความพยายามของชาวดัตช์ที่จะยังคงอำนาจเหนืออาณานิคมเดิมระหว่างสงครามเอกราชอินโดนีเซีย ซึ่งยุติลงด้วยการรับรองการก่อตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเต็มรูปแบบเมื่อ พ.ศ. 2492

          สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของกรุงจาการ์ตา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ประจำชาติอินโดนีเซีย (โมนาส) ซึ่งถือว่าเป็นอนุเสาวรีย์ที่สร้างโดยมีส่วนประกอบของทองคำ ในยุคของประธานาธิบดีซูการ์โน ผู้ประกาศเอกราชให้อินโดนีเซียปลดแอกจากเนเธอร์แลนด์ได้

                                    ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม

                                           เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม (ฮานอย)



   เมืองหลวงอาเซียน

     ฮานอย (อังกฤษ: Hanoi; เวียดนาม: Hà Nội ห่าโหน่ย) เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากร 6,472,200 คน (พ.ศ. 2552) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร ไม้อัด สิ่งทอ สารเคมีและงานหัตถกรรม ฮานอยตั้งอยู่ที่ 21°2' เหรือ 105°51' ตะวันออก

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ได้มีการขยายเขตฮานอยไปอีก โดยครอบคลุมบริเวณมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพื่อรองรับการเติบโตของเมือง และเมื่อถึงเดือนตุลาคม 2553 ก็จะครบวาระ 1000 ปีการสถาปนาเมือง

    "ฮานอย" หมายถึงตอนต้นของแม่น้ำ ตั้งอยู่ตอนต้นอยู่บนลุ่มแม่น้ำแดง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลี้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1553 โดยใช้ชื่อว่า "ทังล็อง" แปลว่า "มังกรเหิน" จนกระทั่ง พ.ศ. 2245 
ราชวงศ์เหงียนได้ย้ายเมือหลวงไปอยู่เมืองเว้เมื่อตกเป็นส่วนหนึ่ของอินโดจีนของฝรั่งเศส ฮานอยจึงกลับมาเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการอีกครั้งใน พ.ศ. 2430 ภายหลังได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2489 ดินแดนเวียดนามแยกออกเป็นสองประเทศ โดยฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ เมื่อรวมประเทศใน  2519 จึงเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวของเวียดนามในปัจจุบัน


                               ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

    เพลงเมืองหลวงของประเทศอาเซียน.....




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการ์ตูนเคลื่อนไหว


ขอบคุณค่ะ

thank you........