ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของเด็กหญิงนัสรินทร์ หมานสะยะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงของประเทศลาว

                                 

                                    เมืองหลวงประเทศลาว  (กรุงเวียงจันทร์)


เมืองหลวงอาเซียน

          กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย มีเนื้อที่ 3,920 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7 แสนคน นับว่ามากที่สุดในประเทศ
          เดิม พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างเมื่อ     พ.ศ. 2103 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2321 เจ้าพระยาจักรีของไทย (ในสมัยกรุงธนบุรี) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด อาณาจักรเวียงจันทน์ตกเป็นประเทศราชของไทยนับตั้งแต่นั้นมา
           พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากไทย รัฐบาลไทยจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่กรุงเทพ ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอารามสำคัญไม่กี่แห่ง เช่น หอพระแก้ว วัดสีสะเกด เท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
           พ.ศ. 2436 ดินแดนลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เวียงจันทน์ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครองของลาวในอาณัติของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อประเทศลาวประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ก็ได้กำหนดให้กรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
 ประเทศลาว ถือเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทยมากที่สุด ภาษาลาวมีความใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก สามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ ประเทศลาวมีพรมแดนติดต่อกับไทยทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำโขงกั้นเขตแดน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีทางออกสู่ทะเล มีนครหลวงเป็นเมืองหลวงอยู่ทางตอนกลางของประเทศ จากเมืองไทยจะไปเวียงจันทน์สามารถข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ผ่านทางจังหวัดหนองคายไปได้ เมืองเวียงจันทร์มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง เช่น ประตูชัย พระธาตุหลวง หอพระแก้ว เป็นต้น และเมืองหลวงเวียงจันทร์เป็นเมืองที่แปลกเพราะว่าเป็นเมืองหลวงที่อยู่ใกล้ชายแดนไทยมาก (ปกติเมืองหลวงจะไม่อยู่ใกล้กับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน)

สถานที่สำคัญ

  • ประตูชัย สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของปวงชนลาว พ้นจากการเป็นเมืองขึ้น โดยเลียนแบบ ประตูชัย ปารีส แต่ใช้ศิลปะลาว
  • หอพระแก้ว เดิมเป็นวัด เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ปัจจุบัน (แม้ไม่มีพระแก้วมรกตแล้ว) เป็นพิพิธภัณฑ์และมีร้านขายของที่ระลึก
  • พระธาตุหลวง พระธาตุ (สถูป) ขนาดใหญ่สีทองอร่าม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นเครื่องหมายในดวงตราสำคัญของประเทศ
  • วัดสีสะเกด อีกวัดหนึ่งที่ไม่ได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม มีพระพุทธรูปใหญ่ และเล็กเรียงรายอยู่มากที่สุด
  •       
                  ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

1 ความคิดเห็น: